สงสัยกันไหม ? พลาสติกชนิดใดใช้ห่ออาหารที่คุณกิน

สงสัยกันไหม ? พลาสติกชนิดใดใช้ห่ออาหารที่คุณกิน

Highlights:

  • ในการรองรับของเหลวปริมาณเดียวกัน ด้วยน้ำหนักที่เบากว่า และแข็งแรงกว่า จึงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกนั้นง่ายกว่า และปลอดภัยกว่าต่อการขนส่ง

  • หมายเลข 1 – 7 ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิด บ่งบอกถึงคุณสมบัติของพลาสติกที่แตกต่างกัน เหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน

สำหรับอาหารที่เรากินเหลือนั้น หลายคนอาจจะนำมันเก็บเข้าตู้เย็นพร้อมกับบรรจุภัณฑ์ที่ทางร้านให้มา หรือเลือกจะถ่ายอาหารที่เหลือมาลงไว้ทัปเปิ้ลแวร์แก้ว แต่บางคนก็ใช้ “พลาสติก” เพื่อช่วยยืดอายุอาหารให้กินได้อีกในมื้อถัดไป

แล้วพลาสติกช่วยถนอมอาหารได้จริง ๆ เหรอ ?

พลาสติกช่วยถนอมอาหารได้อย่างไร

การจะตอบข้อสงสัยนี้ต้องเริ่มกันที่คุณสมบัติเฉพาะตัวของพลาสติกก่อน ข้อแรกคือ พลาสติกมีน้ำหนักที่เบากว่าวัสดุประเภทอื่นๆ รู้ไหมว่าพลาสติกน้ำหนักแค่ 2 ปอนด์ สามารถรองรับของเหลวปริมาณ 10 แกลลอนได้อย่างสบายๆ เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่นๆ เช่น เหล็กที่ต้องใช้เหล็กน้ำหนักถึง 8 ปอนด์ หรือแก้วที่ต้องใช้แก้วน้ำหนักถึง 40 ปอนด์ ในการจะรองรับของเหลวปริมาณเดียวกัน ด้วยน้ำหนักที่เบากว่า และแข็งแรงกว่า จึงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกนั้นง่ายและปลอดภัยต่อการขนส่งมากกว่าวัสดุอื่น ๆ

นอกจากนี้ พลาสติกยังช่วยปกป้องอาหารจากความเสียหายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายจากแบคทีเรีย และจุลินทรีย์ หากอาหารจานไหนที่ทานไม่หมดได้รับการห่อคลุม หรือเก็บไว้ในกล่องพลาสติกแล้วล่ะก็ พลาสติกจะช่วยชะลอการเน่าเสียของอาหารลงได้ และช่วยยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น จากเหตุผลทั้งหมดที่เล่ามา จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมพลาสติกถึงกลายเป็นวัสดุที่เหมาะสุด ๆ ในการผลิตหีบห่ออาหาร

ว่าแต่เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมพลาสติกถนอมอาหารถึงมีหลายชนิดนัก และหมายเลข 1 – 7 ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดหมายถึงอะไรกันแน่ เราลองไปหาคำตอบกันดีกว่า

ประเภทของพลาสติกถนอมอาหาร

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งประเภทของหีบห่อพลาสติกได้ตามเลข 1 – 7 ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ โดยแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบเฉพาะของเม็ดพลาสติก ซึ่งพลาสติกที่เราจะเล่าถึงในบทความนี้ก็ขอหยิบยกมาเฉพาะชนิดพลาสติกยอดฮิตที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารครับ

เริ่มกันที่หีบห่อที่มีสัญลักษณ์หมายเลข 1 หมายถึง Polyethylene Terephthalate (PET or PETE) พลาสติกชนิดนี้มีคุณสมบัติในการปกป้องอาหารจากการสัมผัสกับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และน้ำ พบมากในการผลิตขวดน้ำอัดลม และห่อพลาสติกขนมขบเคี้ยวที่ต้องการจะรักษาความกรุบกรอบของขนม

พลาสติกยอดฮิตอีกชนิดก็คือ High Density Polyethylene (HDPE) หรือที่ปรากฏเป็นหมายเลข 2 บนบรรจุภัณฑ์ พลาสติกชนิดนี้มีความทนทานสูงมาก ๆ ยากต่อการละลาย จึงเป็นที่นิยมสุดในการผลิตพลาสติกถนอมอาหาร รวมถึงใช้ในการผลิตกล่องมาการีน และขวดน้ำอีกด้วย

ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่มีหมายเลข 6 กำกับนั้นหมายถึง Polystyrene (PS) พลาสติกชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการปกป้องความชื้นไม่ให้เข้าถึงตัวอาหาร อีกทั้งยังมีความแข็งที่สูงมาก ๆ โดยส่วนมากจะใช้ผลิตเป็นถาดอาหาร บรรจุภัณฑ์ และช้อนส้อมพลาสติกทิ้งได้ที่เรามักใช้กันในปาร์ตี้นั่นเองครับ

ปัจจุบันและอนาคตของการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อาหาร

ทุกวันนี้ทั่วโลกผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกถึง 78 ล้านตัน สถิติระบุว่ามีเพียง 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล ยังมีบรรจุภัณฑ์อาหารอีกมหาศาลที่ยังไม่ถูกรีไซเคิล และส่วนมากก็กลายเป็นขยะพลาสติกลอยตัวอยู่ในมหาสมุทร จากการสำรวจพบว่า ส่วนมากขยะเหล่านี้มาจากประเภทที่กำลังพัฒนาซึ่งยังไม่มีระบบรีไซเคิลที่ครอบคลุมพอ ปัญหานี้ดูจะย่ำแย่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นเรื่อย ๆ สวนทางกับการตระหนักรู้ต่อความสำคัญของการรีไซเคิลที่ยังคงไม่เข้มแข็งพอ คำถามที่ตามมาคือ แล้วอนาคตของบรรจุภัณฑ์พลาสติกจะเป็นอย่างไร

โชคดีที่ปัญหาดังกล่าวได้รับความสนใจจากทั่วโลก อย่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกาเองก็ได้ผลิต ‘Shrilk’ พลาสติกโปร่งใสต้นทุนต่ำ ย่อยสลายได้ ผลิตขึ้นจากสารไคโตซาน (Chitosan) ที่สะกัดจากเปลือกกุ้งและปู โดย Shrilk สามารถผลิตเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกได้นั่นเอง

นอกจากนี้ MonoSol บริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาก็ได้คิดค้นโพลีเมอร์ที่สามารถย่อยสลายในน้ำได้ ซึ่งความน่าสนใจของโพลีเมอร์ชนิดนี้คือมีความปลอดภัยต่ออาหาร อีกทั้งยังไม่ส่งผลใด ๆ ต่อกลิ่น รสชาติ หรือเนื้อสัมผัสของอาหารอีกด้วย โดยในปัจจุบันก็เริ่มมีบริษัทผลิตอาหารใช้โพลีเมอร์ชนิดพิเศษนี้แล้วเช่นกัน

แต่ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะมีความพยายามในการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้มากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเราควรจะรอให้ถึงวันที่พลาสติกทุกชนิดบนโลกสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเองโดยละเลยการรีไซเคิลไป

และอย่างที่เล่ามาข้างต้นครับ พลาสติกนั้นมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีกระบวนการรีไซเคิลแตกต่างกัน ขวดเครื่องดื่ม 1 ขวดอาจประกอบไปด้วยพลาสติกหลายแบบ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงจึงไม่ใช่แค่การรีไซเคิล แต่คือการทำความเข้าใจวิธีการแยกขยะอย่างถูกต้อง ก่อนทิ้งขวดน้ำ 1 ขวด เพื่อน ๆ จึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า ฝาขวด ตัวขวด และฉลากพลาสติกนั้นทำจากพลาสติกแบบไหน รีไซเคิลได้หรือไม่ และจัดการแยกประเภทพลาสติกก่อนทิ้งมันลงถังขยะ เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ขยะที่แยกแล้วก็สามารถนำกลับมาใช้งานต่อให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ได้อีกครั้งนั่นเอง

 

อ้างอิง:

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.

This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our privacy policy. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Performance

    Performance cookies are used to see how visitors use the website, eg. analytics cookies. Those cookies cannot be used to directly identify a certain visitor.

บันทึกการตั้งค่า