BARRIER FILMS FOR FOOD PACKAGING SOLUTIONS (ความสำคัญของแบริเออร์ฟิล์มในอุตสาหกรรมอาหาร)

BARRIER FILMS FOR FOOD PACKAGING SOLUTIONS (ความสำคัญของแบริเออร์ฟิล์มในอุตสาหกรรมอาหาร)

http://www.plasticingenuity.com

ในปัจจุบันนี้ barrier film (แบริเออร์ฟิล์ม) เป็น่ส่วนนึงของ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ประเภทอาหารไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าที่ใช้พลาสติกชนิดบางห่อหุ้มอาหาร

เนื่องด้วยการเก็บอาหารให้คงความสดใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของฟิล์มที่เราใช้นั่นเอง ซึ่งมันเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่เราต้องเลือกชนิดของฟิล์มให้เหมาะสมกับ สินค้า อาหารที่ใช้ และ เครื่องมือที่ใช้ในการ packing นั่นเอง

สิ่งแรกที่สำคัญคือต้องพิจารณาอัตราการถ่ายเทออกซิเจน (OTR)  ซึ่งเป็นการวัดปริมาณออกซิเจนที่ฟิล์มสามารถผ่านทะลุได้  ฟิล์มที่มีคุณภาพสูงชนิด high barrier film จะยอมให้ออกซิเจนผ่านน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทางเลือกที่คนใช้งานนิยม เพราะจะให้การซึมผ่านของออกซิเจน 10 cc หรือน้อยกว่าเท่านั้น

ส่วนปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาได้แก่

    1. ความชัดเจนของมาตรวัดฟิล์ม
    2. ประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุอยู่
    3. การป้องกันรังสีUV
    4. การป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์

นอกจากนี้เรายังต้องการพิจารณาถึงความยากง่ายในการปรับ Process การผลิต เพื่อให้ตัดขอบฟิล์ม ได้สวยงามอีกด้วย
gruppe-barrierfilm

https://www.mondigroup.com

High Barrier Films for Food Packaging (ไฮแบริเออร์ฟิล์มสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร)

high barrier film มีหลากหลายชนิดย่อยๆไปอีก ซึ่งมีคุณลักษณะเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น

  • Ethylene Vinyl Alcohol (EVOH) :   จะเหมาะสำหรับ ปลา เนื้อสัตว์และบรรจุภัณฑ์เนื้อสัตว์ เนื่องจากมี OTR เพียง 0.6cc / m2 และสามารถใช้เป็นวัสดุพื้นผิวหรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอิสระได้นั้นเองครับ
  • Polyester (PET) : เป็น high-performing film ที่ใช้เป็นพื้นผิวเคลือบ มีความทนทานต่อความร้อนสูง เมื่อเคลือบบนวัสดุอื่น ๆ บางอย่างและยังสามารถป้องกันรังสี UV อีกด้วยครับ

การเคลือบแผ่นฟิล์ม PET ด้วย *SARAN LAMINATE จะสร้างชั้น KPET เป็นลามิเนตนิ่มๆ มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งสามารถใช้เคลือบทับไปอีกชั้นกับฟิล์มชนิดอื่น ๆ ก็ได้

ตัว KPET นี้จะมีคุณสมบัติทนต่อ แก๊ส ความชื้น และไอน้ำ จึงนำไปใช้กับพวกสินค้าอบแห้งและสินค้าที่มีง่ายต่อการดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

*SARAN LAMINATE  : เป็นชื่อทางการค้าของ S.C. Johnson & Son, Inc

  • NYLON (ไนล่อน) : ถูกดีไซด์ไว้เพื่อใช้กับอาหารที่ต้องเข้า Microwave เพราะ film ชนิดนี้มีความแข็งแรงคงทน และ มีจุดหลอมเหลวทีสูงจึงทนต่อความร้อนได้ดี (High Meling point)
  • LLDPE : เด่นเรื่องความใสสวยงามแต่มีค่า OTR สูง ( 2500cc/m2)  จึงเหมาะกับอาหารสดเท่านั้น
  • Polypropylene : ขาวใส ทนต่อความชื้นได้ดี และ มีค่า OTR สูง

SunChemical-open-slide

http://www.adhesivesmag.com

The Case for High Barrier Films (กรณีศึกษาของ ไฮแบริเออร์ฟิล์ม)

ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ได้แสดงรายงานออกมาว่า ในปี 2015 ความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารทั่วโลกมีประมาณ 17 ล้านตัน

ในจำนวน 17 ล้านตัน นี้  มี 1.4 ล้านตัน ที่ใช้เป็น High Film barrier

โดยภาพรวมแล้ว High Film barrier  คิดเป็นสัดส่วน 8% ของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารทั้งหมด

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.plasticingenuity.com

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.

This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our privacy policy. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Performance

    Performance cookies are used to see how visitors use the website, eg. analytics cookies. Those cookies cannot be used to directly identify a certain visitor.

บันทึกการตั้งค่า