วิทยาศาสตร์ชวนรู้ของกล่องเก็บอาหารพลาสติก

วิทยาศาสตร์ชวนรู้ของกล่องเก็บอาหารพลาสติก

เคยลองนั่งคิดเล่น ๆ ไหมว่าในหนึ่งวันเราทิ้งขยะกันบ่อยแค่ไหน ? ‘Throwaway Culture’ หรือ ‘วัฒนธรรมการโยนทิ้ง’ คือคำที่ใช้อธิบายพฤติกรรมการโยนทิ้งของมนุษย์ในปัจจุบัน ที่เป็นไปอย่างง่ายดาย และเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในอดีตที่ผ่านมา

วัฒนธรรมการโยนทิ้งคืออะไร

เราสามารถอธิบายวัฒนธรรมการโยนทิ้งได้สองนัยด้วยกันคือ การโยนทิ้งสิ่งของลงถังขยะหลังจากการใช้งานเพียงแค่ครั้งเดียว เช่น หลอด ถุงพลาสติก และกระดาษชำระ ส่วนอีกนัยหนึ่งคือ การที่มนุษย์เลิกใช้สิ่งของเดิม ๆ เพื่อกระโดดเข้าหาสิ่งของใหม่ ๆ ที่ตื่นตาตื่นใจกว่า เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และกล้องถ่ายรูป

ในแง่หนึ่ง วัฒนธรรมการโยนทิ้งเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากกระแสบริโภคนิยม (consumerism) ที่ผู้ซื้อพากันจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับตัวเอง เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยี และการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่รุดหน้าไปเรื่อย ๆ ทำให้อัตราค่าผลิตสินค้าเองก็ถูกลงด้วย หลายบริษัทจึงเริ่มหันมาผลิตสิ่งของคุณภาพต่ำ และมีอายุการใช้งานสั้น เพื่อตอบสนองต่อวัฒนธรรมการโยนทิ้ง เช่น จานพลาสติก และแก้วพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ที่ผลิตจากพลาสติกคุณภาพต่ำเท่านั้น และไม่เอื้อประโยชน์ต่อการเก็บไว้ใช้งานในครั้งถัด ๆ ไป

ความสำคัญกล่องอาหาร และการเลือกพลาสติก

ท่ามกลางวัฒนธรรมการโยนทิ้ง ‘lunch box’ หรือ กล่องอาหาร ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทหนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าสวนทางกับพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ นั่นเพราะประโยชน์ของกล่องอาหาร นอกจากจะมีเพื่อพกพาอาหารไปทานในสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่บ้านแล้ว หลังจากที่ทานอาหารในกล่องจนหมดเกลี้ยง ก็สามารถนำกล่องกลับมาล้างให้สะอาดเพื่อไว้ใช้ใหม่ในครั้งอื่น ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แล้วทิ้งลงถังแต่อย่างไร ในแง่นี้กล่องอาหารจึงถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยรับมือกับวัฒนธรรมใช้แล้วทิ้งได้เป็นอย่างดี

พลาสติกคือหนึ่งในวัสดุยอดฮิตในการใช้ผลิตกล่องอาหาร นั่นเพราะด้วยราคาที่ไม่แพง แข็งแรงทนทาน และมีน้ำหนักเบา พลาสติกจึงตอบโจทย์เป็นอย่างมากต่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับการพกพาไปใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่บนเทือกเขาจนถึงห้องทำงานภายในเรือดำน้ำ แต่คำถามคือ

กล่องอาหารจากพลาสติกปลอดภัยจริงไหม ? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าชนิดไหนปลอดภัย ?

หลายคนอาจจะยังติดภาพความเป็นผู้ร้ายของพลาสติก ที่ไม่ได้เป็นมิตรกับร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น พลาสติกหลายชนิดไม่ได้ทำให้ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้รับอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Polyethylene Terephthalate (PETE) และ High Density Polyethylene (HDPE) ซึ่งเป็นพลาสติกคุณภาพสูง ปลอดภัย ไม่มีการปล่อยสารเคมีใด ๆ เข้าสู่อาหาร และร่างกาย พลาสติกทั้งสองประเภทนี้จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในการผลิตเป็นภาชนะ และบรรจุภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ขวดซอส หรือกระปุกแยม อีกทั้งด้วยความที่ PETE และ HDPE เป็นพลาสติกคุณภาพสูง จึงทำให้พลาสติกประเภทนี้สามารถรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าพลาสติกประเภทอื่น ๆ

Low Density Polyethylene (LDPE) กับ Polypropylene (PP) คือพลาสติกอีกสองประเภทที่เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร และบรรจุภัณฑ์ไม่แพ้กัน เพียงแต่จุดเด่นของพลาสติกสองประเภทนี้จะมีความหนาแน่นที่ต่ำกว่า นิ่ม และยืดหยุ่นกว่า แต่ก็ทนทานต่อการฉีกขาดได้เป็นอย่างดี แม้จะมีความทนทานน้อยกว่า HDPE แต่ก็แลกมาด้วยความโปร่งใส พลาสติกสองประเภทนี้จะเป็นที่นิยมในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่าย และไม่ต้องการความคงทนมาก เช่น ขวดน้ำพลาสติกที่สามารถบีบให้แบนได้ด้วยมือ รวมถึงแผ่นฟิล์มถนอมอาหารปลอดเชื้อ

การกลับมาของกระแสกล่องอาหาร

ครั้งหนึ่งในอดีต กล่องอาหารเคยเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคหลังสงคราม ที่ภรรยามักจะแพ็กอาหารให้สามีไปทานในสถานที่ทำงาน รวมถึงเด็ก ๆ ที่มักจะหอบหิ้วกล่องอาหารของตัวเองไปโรงเรียน และแม้พฤติกรรมการพกพากล่องอาหารจะไม่เคยหายไปไหน แต่ในปี 2017 ที่ผ่านมา ที่กระแสกล่องอาหารได้กลับมาอยู่ในกระแสนิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Instagram จนเกิดกระแสแฮชแท็ก #lunch และ #lunchbox ที่พุ่งสูงถึง 53 ล้านครั้งเลยทีเดียว

จากสถิติระบุไว้ว่า กลุ่มผู้ใช้แฮชแท็กดังกล่าวเยอะที่สุดคือกลุ่มคนเจนวาย หรือมิลเลนเนียล นั่นเพราะว่าคนกลุ่มนี้หันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพ และทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการมากขึ้น ซึ่งการเตรียมอาหารมาเองจากบ้านช่วยตอบโจทย์ในแง่ที่พวกเขาสามารถควบคุมคุณประโยชน์และแคลอรีในอาหารมือหนึ่ง ๆ ได้อย่างชัดเจน ทั้งด้วยความไม่ไว้วางใจต่ออุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันก็ส่งผลให้ผู้คนเปลี่ยนมาทำอาหารด้วยตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ

อีกสาเหตุหนึ่งที่กล่องอาหารกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งก็ด้วยความตระหนักต่อวัฒนธรรมการโยนทิ้ง และปัญหาขยะล้นโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในสังคมปัจจุบัน ผู้คนให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของการรีไซเคิล ซึ่งการใช้กล่องอาหารก็นับว่าตอบสนองต่อเรื่องนี้เป็นอย่างดี ทั้งยังไม่เป็นการไปเพิ่มขยะโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

เพราะกล่องอาหารคืออีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยรับมือกับวัฒนธรรมโยนทิ้งได้อย่างอยู่หมัด อาจเริ่มต้นง่าย ๆ จากหนึ่งวันในทุก ๆ สัปดาห์ การเริ่มชักชวนเพื่อน ๆ รอบตัวให้พกกล่องอาหารไปทานมื้อกลางวันด้วยกันก็ดูจะเป็นความคิดที่เข้าท่าอยู่ไม่น้อยเลยว่าไหม ?

อ้างอิง:
https://on.natgeo.com/2XI3z4O
www.chemicalsafetyfacts.org/keeping-lunch-cool-the-chemistry-of-lunchboxes/
https://www.care2.com/greenliving/safe-plastics-for-lunchboxes.html
http://mynontoxictribe.com.au/non-toxic-lunchbox/
https://www.telegraph.co.uk/news/2017/07/08/lunchboxes-make-comeback-workers-compete-instagram-worthy-pack2/

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.

This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our privacy policy. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Performance

    Performance cookies are used to see how visitors use the website, eg. analytics cookies. Those cookies cannot be used to directly identify a certain visitor.

Save