3 สิ่งที่จะเกิดขึ้น… เมื่อกฎหมายอนุญาตให้ใช้ พลาสติกรีไซเคิล ในบรรจุภัณฑ์อาหาร

3 สิ่งที่จะเกิดขึ้น… เมื่อกฎหมายอนุญาตให้ใช้ พลาสติกรีไซเคิล ในบรรจุภัณฑ์อาหาร

สืบเนื่องจากการประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 นี้… เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ พลาสติกรีไซเคิล ใน บรรจุภัณฑ์อาหาร นั้น ซึ่งในบทความที่แล้วผมได้ สรุปรายละเอียดและวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหารไปแล้วนั้น

…ประกาศฉบับนี้ จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร??? ผมจะมาวิเคราะห์ให้ทุกๆท่านได้เข้าใจเป็น ข้อๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในการปรับตัว ดังนี้ครับ

ข้อที่ 1. แนวคิด Extended Producer Responsibility หรือ EPR จะถูกนำมาใช้กับ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ บรรจุภัณฑ์อาหาร อย่างแพร่หลาย

แนวคิดของ EPR คือ แนวคิดที่เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ บรรจุภัณฑ์อาหาร มีหน้าที่ต้องขยายความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ในตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) แตกต่างจากแนวคิดแบบเดิม ที่ผลิตมาเพื่อขายและทำการตลาด แล้วส่งมอบสินค้าสู่ผู้บริโภคก็เป็นอันสิ้นความรับผิดชอบ

แต่แนวคิด EPR นั้น ทางผู้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์ จะมีภาระหน้าที่รวมไปถึง การรวบรวมจัดเก็บขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แล้วนำกลับมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดและรีไซเคิลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ชนิดต่างๆใหม่ ในรอบการใช้งานถัดไป

ซึ่งจากการอนุญาตให้ใช้พลาสติกรีไซเคิลใน บรรจุภัณฑ์อาหาร ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2565 นั้น ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้หลักการ EPR ถูกนำมาใช้อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเจ้าของแบรนด์นี้เองจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ใช่เพียงแต่หน้าที่ในการจัดเก็บขยะพลาสติกนำกลับมาเข้ากระบวนการ แต่ยังมีหน้าที่ในด้านการวางแผนการจัดการเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์อาหาร ในช่วงวงจรชีวิตต่างๆอีกด้วย ไล่ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การผลิต การใช้งาน การจัดเก็บสินค้า วิธีการในการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

โดยในขั้นตอนการออกแบบนั้น นอกจากการคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสะดวกในการคัดแยกและจัดการเมื่อ บรรจุภัณฑ์อาหาร นั้น กลายเป็นขยะอีกด้วย

ข้อที่ 2. เทรนการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ที่จะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยะสำคัญ

ก่อนหน้านี้การออกแบบ บรรจุภัณฑ์อาหาร จะคำนึงถึงวัตถุประสงค์ด้านการใช้งาน และเหตุผลด้านการตลาดเป็นหลักสำคัญ…

ไม่จะเป็นความสวยงามสะดุดตา น่าดึงดูดต่อผู้บริโภค หรือการสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มที่บรรจุอยู่ภายในโดยแทบจะไม่ได้คำนึงถึงการจัดเก็บ บรรจุภัณฑ์อาหาร ต่างๆเหล่านี้เมื่อกลายเป็นขยะ ไล่ตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บขยะกลับจากผู้บริโภค การคัดแยกจัดการ การนำกลับมารีไซเคิล และท้ายสุดคือ การนำกลับมาผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์อาหาร ในรอบการใช้งานถัดไป ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการทางด้านความปลอดภัยของ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตามข้อบังคับที่ได้ประกาศออกมา…

ซึ่งผลของการละเลยการคิดวางแผนการจัดการบรรจุภัณฑ์ต่างๆเหล่านี้ ให้ครอบคลุมตลอดช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Lift Cycle) นำมาซึ่งปัญหาในการจัดการคัดแยก บรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหาร ทำให้สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ในปริมาณน้อย หรือไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เลย และถูกนำไปสู่บ่อฝังกลบในท้ายที่สุด

ซึ่ง สิ่งที่ทางฝั่งผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะต้องปรับเปลี่ยนในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดรับกับมาตรฐานการถูกนำกลับมารีไซเคิล ก็คือ

  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เป็นพลาสติกชนิดเดียว (Mono Material)

>> หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุพลาสติกหลากหลายประเภท โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่เป็นขวดผนังบางๆ หรือถุงนมถุงบรรจุเครื่องดื่มที่มักจะเป็นรูปแบบของการมีผนังของบรรจุภัณฑ์หลายๆชั้นเรียงต่อกัน (multi-layer packaging)…

>> ซึ่งในปัจจุบัน จะมีบรรจุภัณฑ์บางประเภท ที่มีผนังหลายชั้น ที่ใช้พลาสติกชนิดต่างกัน เช่น PP-PET, Metal-PET, Metal-PA เหล่านี้เป็นต้น

>> เนื่องจากความต้องการคุณสมบัติที่แตกต่างกันจากวัสดุทั้งสองชนิด อาทิเช่น ความมันวาวแลดูสวยงาม การป้องกันการซึมผ่านของอากาศ หรือการยึดติดของหมักพิมพ์ที่พิมพ์ลงบรรจุภัณฑ์เป็นต้น… ซึ่งต่อจากนี้ไปทางผู้ผลิตจะต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่ในการใช้วัสดุเพียงชนิดเดียว เพื่อที่จะทำให้ง่ายในกระบวนการรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่

  • การคำนึงถึงความปลอดภัยและสารเคมีต่างๆที่แต่งเติมลงไปในการผลิตบรรจุภัณฑ์

>> หลายท่านๆอาจจะมีความเห็นว่า โดยปกติแล้วในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มไม่น่าจะมีสารอันตรายต่างๆปะปนอยู่ในบรรจุภัณฑ์อยู่แล้ว…

>> ตรงจุดนี้ก็ถูกต้องส่วนหนึ่งครับ เพียงแต่เราต้องมีการคิดประเมินและวางแผนไปถึงในขั้นตอนของกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ด้วย

>> เพราะบางทีอาจจะมีสารเคมีซึ่งอาจจะหลุดออกมาปะปนกับพลาสติกในขั้นตอนการ รีไซเคิลได้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นสารเคมีซึ่งเกิดจากหมึกพิมพ์ต่างๆ ซึ่งโดยปกติในขั้นตอนการผลิตก่อนหน้า มักจะมีการใช้ชั้นพลาสติกมากั้นขวาง (Functional Barrier) ไม่ให้สารเคมีจากหมึกพิมพ์ต่างๆเหล่านี้ หลุดออกมาสัมผัสกับอาหาร หรือเครื่องดื่ม

  • ต้องมีการระบุรายละเอียดของชนิดพลาสติกและขั้นตอนกระบวนการรีไซเคิลบนบรรจุภัณฑ์

>> ในสมัยก่อนนั้นเราเพียงแค่มีการระบุประเภทพลาสติกของ บรรจุภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่ม นั้นๆ โดยใช้หมายเลข1-7 เพื่อระบุประเภทของพลาสติกที่ใช้ในการผลิต บรรจุภัณฑ์…

>> แต่หลังจากนี้ไปข้อมูลที่ทางผู้ผลิตจะต้องเพิ่มเติมเข้าไป คือ วิธีการเก็บรวบรวม คัดแยกบรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงวิธีการรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์อาหารต่างๆเหล่านั้นอย่างถูกต้องด้วย

ข้อที่  3. บรรจุภัณฑ์อาหาร พลาสติกชนิด PET จะเป็นกลุ่มแรกที่จะถูกนำร่องใช้งาน

PET เป็นพลาสติกที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มากที่สุดเป็นอันดับ 1 เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความใส สามารถป้องกันการแพร่ผ่านของอากาศ มีความเหนียวทนทาน และสามารถทนต่อความร้อนได้ดีในระดับหนึ่งเป็นต้น

และเมื่อเราพิจารณาในแง่ของการ รีไซเคิลนั้น พลาสติกชนิด PET ก็มีอัตราการ รีไซเคิลสูงสุดเป็นอันดับ 1 เช่นกัน มีอัตราการนำกลับมา รีไซเคิล โดยประมาณถึง 50% โดยส่วนมากถูกนำกลับไปใช้ผลิตเป็นเส้นใยโพลีเอสเทอร์ เพื่อนำไปผลิตเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มในขั้นตอนถัดไป…

ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะพบเห็นได้บ่อยๆจากโฆษณาเสื้อเลยว่า ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล 100% หรือจะเป็นจีวรจากขวดน้ำ ขยะPET เป็นต้น

เทคโนโลยีการ รีไซเคิล ของพลาสติก PET มีความก้าวหน้าสูงมากโดยแทบจะเป็นพลาสติกชนิดแรกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล แล้วได้เม็ดพลาสติกที่มีความสะอาดและคุณสมบัติเทียบเท่ากับเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ (Virgin)…

ซึ่งถ้าในแง่ของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภท PET เทคโนโลยีลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบบ Bottle-to-Bottle…

กล่าวคือ เป็นวิธีการนำขวดเครื่องดื่มพลาสติก PET ที่ใช้งานแล้ว นำกลับไปผ่านเทคโนโลยีการ รีไซเคิล ขั้นสูง เพื่อมาผลิตเป็น เม็ดพลาสติก PET แล้วนำเม็ดพลาสติกนี้มาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ขวดน้ำ PET อีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น ด้วยความก้าวหน้า และมาตรฐานทางเทคโนโลยีการ รีไซเคิล ของพลาสติก PET นี้ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องกว่าหลาย 10 ปีในต่างประเทศ และเริ่มจะมีการนำมาใช้ในประเทศไทยโดยแบรนด์ผลิตภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างNestle แล้ว…

จึงทำให้เราสามารถสรุปได้ว่า สำหรับมาตรฐานข้อบังคับเกี่ยวกับ มาตรฐานที่ออกมานั้น พลาสติก PET จะเป็นพลาสติกชนิดแรกที่สามารถผ่านมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆของ อย. ได้อย่างไม่มีปัญหา…

ในขณะที่พลาสติกประเภทอื่น อาทิเช่น ชนิด PP หรือ PE อาจจะต้องการ การพัฒนาทางเทคโนโลยีทางด้านการ รีไซเคิล เชิงเคมี (Chemical Recycling) เพื่อที่จะสามารถกำจัดสิ่งเจือปนและสารอันตรายๆต่างๆออกจากขยะบรรจุภัณฑ์ได้


ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่ได้เขียนขึ้นมานี้จะเป็นประโยชน์กับ เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหาร/เครื่องดื่ม หรือผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร พลาสติก ที่มีความเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้โดยตรง และเป็นแนวทางสำหรับการตระเตรียม วางแผนเพื่อปรับตัวกับทิศทางในอนาคตของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่จะมาในเวลาอันใกล้นี้นะครับ

ที่มา: https://psmplasitech.com/what-if-recycled-plastic-used-in-food-packaging/

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.

This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our privacy policy. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Performance

    Performance cookies are used to see how visitors use the website, eg. analytics cookies. Those cookies cannot be used to directly identify a certain visitor.

Save